ข้อมูลพื้นฐานและตัวดำเนินการ

ตัวดำเนินการ

ในการเขียนโปรแกรมตวดำเนินการจะเป็นตัวทำหน้าที่รวมค่าต่างๆ และกระทำกับค่าต่างๆ ให้เป็นค่าเดียวกัน อย่างเช่นโปรแกรมในบทที่ผ่านมามีการนำข้อมูลที่เป็นตัวแปรมาคูณกับค่าคงที่ ซึ่งจะต้องใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์เพื่อทำการคูณ ตัวดำเนินการมีหลายประเภทดังต่อไปนี้

  1. ตัวดำเนินการเลขคณิต
  2. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
  3. ตัวดำเนินการทางตรรกะ
  4. ตัวดำเนินการแบบบิต
  5. ตัวดำเนินการกำหนดค่าเชิงประกอบ
  6. ตัวดำเนินการเพิ่มค่าและลดค่า

1. ตัวดำเนินการเลขคณิต

ใช้สำหรับกระทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร โดยจะนำข้อมูลตัวหนึ่งไปกระทำกับอีกตัวหนึ่ง โดยใช้ผลลัพธ์เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้


2. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ

ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Relation Operators) จะนำข้อมูลสองค่ามาเปรียบเทียบกัน โดยข้อมูลทั้งสองค่าจะต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าทางลอจิก คือ จริงหรือเท็จ


3. ตัวดำเนินการทางตรรกะ

ตัวดำเนินการทางตรรกะ (Logical Operator) ประกอบด้วย การทำ AND(และ) , OR(หรือ) และ NOT(นิเสธ) เมื่อกระทำกับค่าใด ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นจริงหรือเท็จ ตัวดำเนินการทางตรรกะแสดงได้ ดังตารางต่อไปนี้


4. ตัวดำเนินการแบบบิต

จะนำข้อมูลสองค่ามาเปรียบเทียบกัน โดยข้อมูลทั้งสองค่าจะต้องเป็นข้อมูลประเภทเดียวกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าทางลอจิก คือ จริงหรือเท็จ


5. ตัวดำเนินการกำหนดค่าเชิงประกอบ

การใช้ตัวดำเนินการบางประเภทสามารถนำมารวมกันเป็น ตัวดำเนินการกำหนดค่าเชิงประกอบ (Compound Assisgnment) ได้ มีรูปแบบคือ

6. ตัวดำเนินการเพิ่มและลดค่า

ตัวดำเนินการเพิ่มและลดค่า คือตัวดำเนินการที่ใช้เพื่อบวกหรือลบค่าออกจากตัวแปรโดย 1 โดยการเพิ่มเครื่องหมาย ++ หรือ-- ใส่ข้างหน้าหรือข้างหลังตัวแปร ซึ่งมีรูปแบบการใช้ดังนี้